พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต - ภาคกลาง

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%87-%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81

เส้นทางเครื่องแกง

ภาคกลาง แสดงแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

พระบาทสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวทรงมีดำริขึ้นครั้งแรกที่วัดมกคลชัยพัฒนา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นทฤษฎีในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตนเองได้คุ้มค่าสูงสุดและที่สำคัญสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยแบ่งพื้นที่ในแปลงหนึ่งแปลงออกเป็น ๔ ส่วนด้วยกันมีสูตรว่า ๓๐ : ๓๐ : ๓๐ : ๑๐ ซึ่งแบ่งดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต - ภาคเหนือ

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%b1

ภาคเหนือ แสดงแนวคิดและทฤษฎีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแสดงแนวคิดไว้ทั้งหมด ๕ แนวคิดด้วยกัน อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 9 : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

เศรษฐกิจพอเพียง ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 8 : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เป็นสถานศึกษา ทดลอง ทดสอบ เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา และพัฒนาด้านการเกษตรอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยใช้นักวิชาการจากหลายๆ หน่วยงาน ดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณา-การเป็น “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ” หรือ” พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ที่รวบรวมสรรพวิชาของการแก้ไขปัญหาด้านเกษตรกรรมอย่างครบถ้วน อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 7 : ทฤษฏีใหม่

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

“ …ทฤษฎีใหม่…ยืดหยุ่นได้ และต้องยืดหยุ่น เหมือนชีวิตของคนเราทุกคนต้องมียืดหยุ่น..”

( พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จ.เพชรบุรี ) อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 6 : การบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

“….กรุงเทพฯต้องมีพื้นที่หายใจ แต่ที่นี่เราถือว่าเป็นไตกำจัดสิ่งสกปรกและโรค สวนสาธารณะถือว่าเป็นปอด แต่นี้เหมือนไตฟอกเลือดถ้าไตทำงานไม่ดีเราตาย อยากให้เข้าใจหลักของความคิดอันนี้…”

บึงมักกะสันเป็นบึงใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ขุดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2474 เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสียจากโรงงานรถไฟมักกะสัน รอบบึงมักกะสันมีชุมชนแออัดมากกว่า 1,000 ครัวเรือน เป็นแหล่งสิ่งปฏิกูล และขยะมูลฝอย จนเกิดปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อม เสื่อมโทรม และน้ำเน่าเสีย กลายเป็นแหล่งมลพิษที่น่าเป็นห่วง อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 5 : กังหันน้ำชัยพัฒนา

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศหมุนช้าแบบทุ่นลอย สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 4 : ฝนหลวง

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

“…แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี้ให้ลงมาได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้…”

 

โครงการฝนหลวง

เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.2495 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตรอันเนื่องมาจากภาวะภัยแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปรกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 3 : น้ำ

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

“ น้ำคือชีวิต”

“… หลักสำคัญว่า ต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั้น
ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้
ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…”

( พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระราชทาน ณ สวนจิตรลดา วันที่ 17 ธันวาคม 2529)

อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง - เรื่องที่ 2 : หญ้าแฝก

เนื้อหาที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ในส่วนนี้ได้แก่

หญ้าแฝก

หญ้าแฝก ที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ฯ

“…ดินแข็งอย่างนี้ใช้การไม่ได้ แต่ถ้าเราทำแนวหญ้าแฝกที่เหมาะสม มีฝนลงมาความชื้นก็จะอยู่ในดิน รากแฝกมันลึกมาก ถึงให้เป็นเขื่อนกั้นแทนที่จะขุด พืชจะเป็นเขื่อนที่มีชีวิต แล้วในที่สุดเนื้อที่ตรงนั้น ก็จะเกิดเป็นดินผิว เราจะปลูกอะไรก็ได้ ปลูกต้นไม้ก็ได้ ปลูกผักปลูกหญ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น…”

( พระราชกระแสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระเนตรงาน โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2535 ) อ่านเพิ่มเติม